วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เทคนิคการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ

  1. จำศัพท์เป็นกลุ่ม : วิธีที่จะจำศัพท์ได้ง่าย  คุณควรจะต้องจำเป็นกลุ่มคำที่มีความหมายเหมือนกัน  และกลุ่มคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกัน
  2. จำศัพท์และวาดภาพคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกัน : ถ้าคุณสามารถวาดภาพของคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกัน  ออกมาเป็นแผนผังหรือจัดหมวดหมู่   ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันระหว่างศัพท์เหล่านั้น  แล้วเขียนออกมาเป็นแผนผัง จะทำให้คุณจำคำศัพท์ได้ง่ายขึ้น
  3. ใช้อุปกรณ์ช่วย : คุณอาจทำบัตรคำศัพท์ภาษาอังกฤษ พร้อมความหมาย และตัวอย่างประโยค แล้วนำมาเปิดอ่านหรือท่องในยามว่าง และเพิ่มคำศัพท์เหล่านั้นทุกสัปดาห์  คุณก็จะมีสต๊อคคำศัพท์ที่สามารถนำมาใช้ได้ทันที  
  4. สร้างจุดเด่นของลักษณะคำศัพท์กลุ่มนั้น : เช่น เมื่อกำหนดกลุ่มคำศัพท์ได้แล้วว่า  กลุ่มที่หนึ่งคือกลุ่มคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน  คุณก็กำหนดให้กลุ่มนั้นเป็นสีฟ้า  (คำศัพท์เหล่านั้นก็จะใช้ปากกาเน้นข้อความสีฟ้า เน้นทับไปที่กลุ่มคำเหล่านั้น),  กลุ่มที่สองคือกลุ่มคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องอวัยวะหรือส่วนต่างๆในร่างกาย   คุณก็กำหนดให้กลุ่มนั้นมีสีเหลือง (คำศัพท์เหล่านั้นก็จะใช้ปากกาเน้นข้อความสีเหลือง เน้นทับไปที่กลุ่มคำเหล่านั้น) เป็นต้น  ซึ่งสีที่แตกต่างกัน จะทำให้จำคำศัพท์เหล่านั้นได้ง่ายขึ้น
  5. ตั้งเป้าหมายอย่างง่ายๆ  แต่ทำอย่างสม่ำเสมอ :  คือการตั้งเป้าหมายว่าจะต้องเปิดคำศัพท์เหล่านั้นทบทวนสัปดาห์ละ 3 ครั้ง และตั้งเป้าว่าจะเพิ่มคำศัพท์ 15-20 คำศัพท์ต่อสัปดาห์ อย่างสม่ำเสมอ

วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เทคนิคการเรียนภาษาอังกฤษอย่างไรให้เทพ !!!!

  เรามาเรียนอังกฤษให้เทพกันเลยนะครัชชชชชชช..............

1. ตามอ่านอะไรที่เราสนใจ
ตอนเด็กๆหลายคนอาจจะไม่ชอบภาษาอังกฤษ เพราะโดนครูบังคับให้อ่านเรื่องอะไรก็ไม่รู้ แต่ลองเริ่มอ่านเรื่องที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูน กีฬา ดนตรี ข่าวซุบซิบดาราฝรั่ง หรือมุมขำๆในหนังสือพิมพ์ จำไว้เลยว่าไม่มีอะไรไร้สาระ เพราะเรากำลังเรียนรู้อยู่
2. ฟังวิทยุให้ชิน
การฟังวิทยุนั้นจะช่วยให้เราได้ฟังทั้งเสียงคนพูด รวมถึงเสียงร้องเพลง เป็นการฝึกหูในชินกับภาษาในหลายๆรูปแบบอีกวิธีหนึ่งด้วย
3. ไม่จำเป็นต้องแปลเป็นภาษาไทย
การฝึกภาษาอังกฤษให้เข้าใจนั้น ไม่จำเป็นที่เราต้องอ่านหรือฟังแล้วแปลเป็นภาษาไทย อาจจะสงสัยว่าไม่แปลเป็นไทยแล้วจะเข้ะาใจยังไง การไม่พยายามแปลเป็นไทยจะช่วยให้เราสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วขึ้นด้วย
4. แปะกระดาษโน้ตบนสิ่งของต่างๆ
วิธีนี้จะเหมือนการเอาข้าศึกมาล้อมเมือง การแปะชื่อสิ่งของต่างๆที่เราใช้เป็นภาษาอังกฤษ ช่วยทำให้ชีวิตได้คุ้นเคยกับคำเหล่านี้มากขึ้น และเป็นการฝึกอ่านฝึกความเข้าใจไปในตัวด้วย
5. ดูทีวีและภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ
การดูภาพ ฟังเสียง และอ่านซับไตเติ้ลภาษาไทยไปพร้อมๆกัน ช่วยฝึกประสาทการรับรู้ในหลายๆช่องทาง ซึ่งต่อไปก็สามารถเปลี่ยนจากซับไทย เป็นซับอังกฤษ ไปจนถึงขั้นปิดซับได้ในท้ายที่สุด
6. เล่นเกมที่ใช้คำภาษาอังกฤษบ่อยๆ
สมัยนี้มีเทคโนโลยีอย่างสมาร์ทโฟน เราจึงสามารถหาแอพพลิเคชั่นเกมภาษาอังกฤษ เช่น Crosswords มาเล่นแก้เบื่อในยามว่างได้ ทีนี้ก็ลองเปลี่ยนจากแชทไลน์มาเป็นเล่นเกมแนวนี้แทน จะช่วยพัฒนาได้อีกทาง
7. ใช้คำต่างๆเป็นภาษาอังกฤษมากขึ้น
วิธีนี้หลายคนอาจจะมองดูว่ากระแดะหรือเปล่า? จริงๆแล้วเป็นเพียงการใช้คำให้ถูกกับภาษาอังกฤษมากขึ้น โดยพยายามพูดอังกฤษบ่อยๆในศัพท์ที่ใช้ได้ เช่นเปลี่ยนคำว่ามือถือ เป็น Smart Phone เปลี่ยนคำว่า นาฬิกาปลุก เป็น Alarm เป็นต้น
8. ทำลิสต์ต่างๆให้เป็นภาษาอังกฤษ
ขั้นตอนนี้อาจจะลำบากในตอนแรก แต่ถ้าเราลองลิสต์ต่างๆให้เป็นอังกฤษจะช่วยเราให้คุ้นเคยได้มากขึ้น อย่างเช่น ลิสต์กิจกรรมที่ต้องทำพรุ่งนี้ ลิสต์ตารางไปเที่ยวพักผ่อน หรือลิสต์ของที่ต้องซื้อเข้าบ้าน ให้เป็นภาษาอังกฤษซะ
9. ลงทุนซื้อ Dictionary ดีๆสักเล่ม
นี่คือการลงทุนที่คุ้มค่า แม้จะมีราคาค่อนข้างแพงไปบ้าง แต่ก็ช่วยให้เราสามารถเข้าใจและพัฒนาภาษาไปได้ดีกว่า (สำหรับคนทุนน้อยจริงๆ ข้อนี้อาจจะข้ามไปได้บ้าง)
10. เราชอบอะไร ทำสิ่งนั้นเป็นภาษาอังกฤษ
ความชอบ ความรัก มันทำให้เราสามารถทำอะไรก็ได้อย่างมีความสุขและไม่น่าเบื่อ ถ้าชอบทำอาหาร ก็เปลี่ยนเมนูอาหารเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าชอบเล่นกีฬาหรือดนตรี ก็ดาวน์โหลดวิดีโอการฝึกซ้อมแบบภาษาอังกฤษมาดู ถ้าชอบเล่นเกมก็ฝึกอ่านคู่มือเกมภาษาอังกฤษ เราก็จะหลงรักมันโดยไม่รู้ตัวเลยล่ะ



วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หลายคนอยากจะฝึกฝนภาษาอังกฤษโดยเริ่มจากการอ่าน เลยเริ่มไปซื้อหนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษมาอ่าน แต่ก็เจอปัญหาว่าอ่านอย่างไรก็ไม่เข้าใจสักที และทำให้ท้อถอย หมดกำลังใจ จนล้มเลิกไปเลยก็มี 

วันนี้เราเลยอยากจะแนะนำเทคนิคดีๆในการฝึกอ่านภาษาอังกฤษ ให้สามารถอ่านเข้าใจ อ่านรู้เรื่อง จนกระทั่งอ่านหนังสือเรียนภาษาอังกฤษกันได้เลยล่ะ 


1 เริ่มจากหนังสือง่ายๆ 

สำหรับคนที่หัดใหม่ แม้แต่หนังสือเรียนของเด็ก นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ก็อาจจะยากจนเกินไป เพราะฉะนั้นไม่ต้องอายเลยที่จะไปซื้อนิทานภาษาอังกฤษของเด็ก 3 ขวบมาอ่าน ลองนึกถึงตอนเราฝึกภาษาไทยใหม่ๆตอนเด็ก เราก็อ่านนิทานของเด็ก 3 ขวบมาแล้ว ซึ่งจะทำให้เข้าใจและจับรูปแบบประโยคง่ายขึ้น 


2 อ่านมากกว่าคนอื่น 
ยิ่งทำอะไรมาก เราก็จะยิ่งเชี่ยวชาญมาก และถ้าคนอื่นอ่านแค่รอบเดียวรู้เรื่อง เราก็อาจจะต้องอ่านตั้งแต่ 2 รอบ 3 รอบ หรือกระทั่ง 4 รอบให้เข้าใจทั้งหมด แต่ก็อย่าเพิ่งท้อถอย แนะนำว่าให้พกหนังสือติดตัวตลอดเวลา และหาโอกาสอ่านบ่อยๆ อ่านในทุกๆที่ เพราะคนเราเวลาว่างที่อยู่เฉยๆวันนึงมีเยอะพอสมควร 



3 ใช้เทคนิคอ่านแบบ Skimming 

คือการอ่านรอบแรกแบบผ่านๆ เพื่อให้เห็นภาพรวมว่าพูดถึงอะไร และเนื้อเรื่องทั้งหมดนั้นเป็นอย่างไร จากนั้นรอบที่ 2 ก็เริ่มจับใจความสำคัญ จดโน้ต เน้นศัพท์ที่ไม่เข้าใจ หาคำศัพท์ที่มีความหมายหลัก จะช่วยให้เราเข้าใจมากขึ้น 



4 อย่าใช้ดิคชันนารีบ่อยๆ 

แม้การเปิดดิคชันนารี จะช่วยให้เราเข้าใจความหมายของแต่ละคำ แต่การอ่านไปเปิดไปเกือบทุกคำ มันจะทำให้เราไม่รู้จักการอ่านจับใจความโดยข้ามศัพท์ที่ไม่รู้เรื่องไป เชื่อรึปล่าวว่าฝรั่งหลายคนก็ไม่เข้าใจทุกคำศัพท์ แต่ก็อ่านข้ามโดยอาศัยคำอื่นๆมาช่วยแปลความหมาย และค่อยมาเปิดหาความหมายคำที่ไม่รู้จริงๆในตอนท้าย 



5 สู้ให้สุด และห้ามท้อ 

เรื่องนี้สำคัญที่สุด หลายคนอาจจะท้อเพียงเพราะเจอคนรอบข้างบอกว่า อ่านหนังสือภาษาอังกฤษทำไม อ่านไปก็ไม่เก่งขึ้น หรือเห็นบางคนมาหัดอ่านทีหลัง แล้วไปได้เร็วกว่า เลยเกิดอาการน้อยใจ ขอให้ตั้งเป้าหมายไปที่ตัวเราคนเดียว ดูว่าเราพัฒนาขึ้นจากเมื่ออาทิตย์ก่อน เดือนก่อนหรือไม่ ตั้งเป้าระยะยาวไว้เป็นปีๆ แล้วพยายามทำตามเป้าช้าๆโดยตั้งใจ